โรคและแมลงศัตรูมะละกอ



การปลูกมะละกอเป็นจำนวนมากหรือเพื่อการค้า มักจะประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรค

และแมลงศัตรูได้ง่าย จึงต้องมีการดูแลรักษาแปลงปลูกและควบคุมเรื่องโรคและแมลงเป็นพิเศษ

สำหรับแปลงปลูกที่ปลูกมะละกอติดต่อกันหลายปี ขาดการเอาใจใส่ หรือปล่อยให้มะละกอมีอายุมากเกินไป

มักกลายเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายของเชื้อโรคและแมลงในส่วนของประเทศไทย

โรคและแมลงศัตรูมะละกอตัวหลักๆ ได้แก่



โรคจากไวรัส ไวรัสที่ก่อโรคในมะละกอมีหลายชนิด เช่น ไวรัสในสกุล Potyvirius, Potexvirus

และBegomovirus (จากวงศ์ Geminiviridae) แต่ไวรัสที่มีการแพร่ระบาดกว้างขวางทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย

และก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าไวรัสชนิดอื่น คือ ไวรัส PRSV (papaya ringspot virus) ในสกุล potyvirus

ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไวรัสจุดวงแหวน หรือที่นิยมเรียกว่า “โรคใบด่างจุดวงแหวน”



โรคจากเชื้อรา เชื้อราที่ก่อโรคในมะละกอมีหลายชนิด เช่น โรคแอนแทรคโนส (anthracnose)

โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคราแป้ง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จะแสดงอาการที่ใบและผล

โดยอาการบนใบจะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาลและแห้ง กลางแผลจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา อาการเด่นชัดคือ

อาการบนผล เชื้อราชนิดนี้จะเข้าทำลายผลตั้งแต่เป็นลูกอ่อน แต่จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งผลแก่หรือสุก

จึงแสดงอาการให้เห็น เริ่มจากเป็นแผลจุดสีน้ำตาลเล็กๆ แล้วค่อยๆ ลามเป็นแผลใหญ่ขึ้น ตรงกลางแผลจะบุ๋มลงไป

ขอบแผลนูน อาจเห็นสปอร์เชื้อราเป็นวงสีดำหรือน้ำตาลเข้มบริเวณกลางแผล แผลจะลุกลามทำให้ผลเน่า




รคแอนแทรกโนส จัดว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของการส่งออกมะละกอสดไปตลาดต่างประเทศ

มักจะระบาดได้ดีในช่วงฝนชุก

การควบคุมโรค นิยมใช้วิธีฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 14-20 วัน ตั้งแต่ระยะแทงช่อดอก หรือเริ่มติดผล

และหลังเก็บเกี่ยว นำผลไปแช่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที

จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคกับผลสุกได้





โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum และ Phytophthora palmivora

เกิดได้ทุกระยะการเจริญของมะละกอ ในระยะกล้า จะเกิดอาการเน่าคอดิน คือรากเน่า ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ต้นมักจะหักพับตรงโคนและเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโคนเน่า เป็นสีน้ำตาลถึงดำ

ลักษณะฉ่ำน้ำ เนื้อเยื่อบริเวณที่เน่าจะยุบตัวลงเล็กน้อย ต่อมารากจะเน่า ใบเหลืองและร่วง

ทำให้ต้นตายไปภายใน 2-3 วันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค มักระบาดไปกับดินและน้ำ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกชุก

การควบคุมโรคใช้วิธีปรับปรุงดินให้ร่วนซุย มีการระบายน้ำดี






โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidium caricae มักพบในสวนปลูกมะละกอในที่สูง มีอากาศเย็น

โรคนี้จะก่อให้เกิดลักษณะผงสีขาวปกคลุมทั้งที่ใบและที่ผล เมื่อเข้าทำลายใบ จะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายซีดเหี่ยว

และเป็นสีน้ำตาลแห้งตายไปในที่สุด ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลร่วง

แต่ถ้าเกิดกับผลโตผลอาจบิดเบี้ยว เจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ มีตำหนิที่ผิว

ส่วนใหญ่จะพบราแป้งบริเวณหลังใบมากกว่าใต้ใบเชื้อรามักแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาว โดยอาศัยลมพัดพาไป

การควบคุมโรค นิยมฉีดพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อรา

      ส้เดือนฝอย (Nematodes) ได้แก่ Meloidogyne incognita เป็นสัตว์จำพวกพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก

ประมาณเส้นใยฝ้าย เจริญอยู่ในดินที่มีความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับใต้ดินไม่เกิน 6 นิ้ว

เป็นสาเหตุของอาการรากปมในมะละกอไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายราก ไชชอนเข้าไปในเนื้อเยื่อและขับน้ำย่อยออกมา

ทำให้เซลล์ของรากตรงส่วนนั้นเกิดการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น และบางเซลล์ก็มีขนาดใหญ่ขึ้น

เนื้อเยื่อของรากจึงบวมโป่งเป็นปมเห็นได้ชัด รากมะละกอไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้ตามปกติ

จึงทำให้ใบเหลือง ร่วงก่อนกำหนด ไม่ผลิดอกออกผล และอาจตายไปในที่สุด

วิธีควบคุม บ้างใช้วิธีเลือกพื้นที่ปลูก บ้างใช้วิธีบำรุงดิน บ้างใช้สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอย


สัตว์และแมลงศัตรูพืช ที่สำคัญได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ย และไร

แมลงจำพวกเพลี้ย ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยเหล่านี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช

ก่อให้เกิดอาการที่ลำต้น ใบ และผลในลักษณะต่างๆ กัน ต้นมะละกอจะโทรม เติบโตไม่ดี

นอกจากนี้ ยังมีเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่มะละกอการควบคุมเพลี้ยมีหลายวิธี บ้างใช้วิธีฉีดน้ำ

บ้างใช้วิธีควบคุมมด บ้างนิยมใช้สารเคมีฆ่าแมลงไร ได้แก่ Tetranychus hydrangeae และ Brevipalpus californicus

จะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น ทำให้การเจริญเติบโตลดลงและผลมีตำหนิ ตลอดจนผลแก่ก่อนกำหนด

และมีรสชาติผิดปกติตามปกติ ศัตรูธรรมชาติของไรทั้ง 2 ชนิด คือ

ไรตัวห้ำ ซึ่งจะคอยควบคุมสมดุลของไรได้อย่างดี การใช้ยาฆ่าแมลง เป็นวิธีที่เสี่ยงต่อการกำจัดแมลงกินไรไปด้วย

อาจทำให้การระบาดเพิ่มขึ้น

แมลงอื่นๆ ได้แก่ จิ้งหรีด ปลวก และแมลงวันทอง แม้ว่าแมลงวันทอง จะเป็นแมลงศัตรูของผลไม้ทั่วไป

โดยการวางไข่ไว้ในผลไม้นั้น แต่สำหรับมะละกอ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแมลงวันทองรบกวนนัก

เพราะมักจะมีการเก็บเกี่ยวผลก่อนที่จะสุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น