มะละกอ




เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และได้แพร่กระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา

มะละกอได้แพร่เข้าสู่มะละกาเมื่อประมาณกว่า 400 ปีที่แล้ว

 และสันนิษฐานว่าน่าจะแพร่เข้าสู่ส่วนที่เป็นประเทศไทยหลังจากนั้น

มะละกอเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ ผล เมล็ด รวมทั้งส่วนที่เป็นน้ำยาง

ในส่วนของการนำมาใช้เป็นอาหาร การบริโภคมะละกอสามารถทำได้ทั้งรูปแบบของผักและผลไม้

แต่รูปแบบที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก คือ การนำผลสุกมาบริโภคแบบผลไม้

ขณะที่การบริโภคแบบผักมีสัดส่วนไม่มากนัก การนำผลดิบมาบริโภคเป็นที่นิยมเฉพาะในบาง

ท้องถิ่นเท่านั้น นอกจากนี้ ในส่วนของใบ ลำต้น หรือแม้แต่ช่อดอกตัวผู้ ก็มีการนำมาปรุงเป็น

อาหารเช่นกันในส่วนของการนำมาใช้ประโยชน์อื่น มะละกอยังมีคุณสมบัติในการรักษาโรค 

เช่น อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ตลอดจนโรคผิวหนังบางชนิด ฯลฯ

ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกล้วนมีประวัติการนำราก ใบ เมล็ด และยางมะละกอ

มาใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านตั้งแต่โบราณนอกจากสารอาหารสำคัญ

 เช่น วิตามินซี วิตามินบี และเบต้าแคโรทีน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว

ในมะละกอยังมีสารประกอบอื่นๆ จำนวนมาก ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดี คือ “ปาเปน”

ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยโปรตีนพบได้ในน้ำยางมะละกอ ปัจจุบัน มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารเครื่องสำอาง และเคมีต่างๆมะละกอเป็นพืชที่ชอบน้ำ

ชอบแสงแดดและทนแล้งได้ดี จึงเป็นพืชที่ปลูกกันทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม มะละกอในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค จะมีลักษณะเฉพาะตัวสูง

 ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของลำต้น การเจริญเติบโตระยะเวลาออกดอกติดผล รูปทรง ขนาดของผล

ตลอดจนสีของเนื้อเมื่อสุก ล้วนมีความแตกต่างหลากหลายอย่างยิ่งลักษณะเด่นของมะละกอ

คือการมีเพศแยกกันในแต่ละต้น ต้นมะละกอต้นหนึ่งอาจเป็นต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ หรือต้นกะเทยก็ได้

การผสมข้ามของมะละกอจึงมีโอกาสเกิดขึ้นง่ายในสภาพธรรมชาติ

ดังนั้น มะละกอจึงเป็นพืชที่พร้อมจะกลายพันธุ์ตลอดเวลา และหาพันธุ์แท้ได้ยากโรคและแมลงศัตรู

ของมะละกอมีหลายชนิด แต่ที่จัดเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิตมะละกอเป็นการค้าทั่วไป


ได้แก่ โรคจากเชื้อราบางชนิด และโรคจากไวรัสจุดวงแหวน